ค่าคอมมิชช้่นเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้
พนักงานเร่งทำยอดขายให้ได้
มากที่สุด
นั่นคือ ใครขายได้มาก คนนั้นก็ได้ค่าคอมฯมาก
บางคนได้ค่าคอมฯ ในแต่ละเดือนมากกว่า
เงินเดือนปกติเสียอีก
บางรายยังกำหนดรายละเอียดของการให้
ค่าคอมฯ ด้วย เช่น ถ้าขายแล้วและลูกค้า
จ่ายตังค์เร็ว ก็จะได้ค่าคอมฯ อัตราที่สูงหน่อย
แต่ถ้าลูกค้าจ่ายช้า ก็จะได้ค่าคอมฯ น้อยลงหน่อย
นี่เป็นยุทธวิธีให้พนักงานของเราพยายามหาทาง
ให้ลูกค้าจ่ายเงินให้เร็วที่สุด เพื่อจะได้ค่าคอมฯ สูงๆ
ที่ว่ามาทั้งหมดคงไม่มีปัญหาอะไร
เว้นแต่เมื่อจะมีการเลิกจ้างพนักงานคนนั้น
"ไล่ออก" นั่นเองครับ
กฎหมายแรงงานจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเชิญพนักงานให้ออก
จากงาน
ถ้าจุดธูปเชิญแล้ว พนักงานยอมเดิมออกไปโดยดีก็ไม่มีปัญหา
แต่ถ้าไม่ยอม และหันกลับมาสู้ ต่อรองให้เราต้องจ่ายโน่นนี่
(ซึ่งกฎหมายกำหนดให้หมดว่า จะเรียกอะไรได้บ้าง)
อันหนึ่งที่ต้องมีคือ เงินค่าชดเชย ซึ่งจะคำนวณโดยใช้
ฐานของเงินเดือนเป็นหลัก
ดังนั้นถ้าเงินเดือนเยอะ ค่าชดเชยก็เยอะตามไปด้วย
เริ่มเห็นปัญหาหรือยังครับ ก็เจ้าค่าคอมฯ ที่ว่าไว้ไง
เพราะถ้าเอาค่าคอมฯ มารวมคิดเป็นฐานเงินเดือน
เพื่อหาค่าชดเชย
เจ้าลูกจ้างที่ขายเก่งๆ มีสิทธิได้ค่าชดเชยบาน
นายจ้างทั้งหลายจึงมักจะอิดออด บิดตะกูด
ไม่อยากให้เอามารวม
นั่นจึงเป็นที่มาของคดีที่จะยกมาเป็นตัวอย่างเล่า
ให้ฟังในวันนี้ครับ
บริษัทนี้มีจ่ายค่าคอมฯ ด้วยครับ เริ่มต้นก็จ่าย
โดยคิดจากยอดที่ขายได้ โดยระบุเป็นเปอร์เซ็นต์
กันชัดเจนเลย
ต่อมามีปรับนิดหน่อย คือ ก็ยังเป็นเปอร์เซ็นอยู่
แต่ถ้าลูกต้าจ่ายเร็วก็ได้อัตราหนึ่ง ถ้าจ่ายช่้าก็อีก
อัตราหนึ่ง ถ้าจ่ายช้ากว่าที่กำหนดไว้ ก็อดเลย
ปัญหาคือ ต่อมาเจ้านายคงเหม็นขี้หน้าเจ้ายอด
พนักงานขายที่ว่านี้ (มั้ง) เลยเลิกจ้าง
ปัญหาอยู่ตรงที่ค่าคอมฯ จะต้องเอามารวมกับ
เงินเดืิอนก่อนแล้วจึงไปคิดค่าชดเชยหรือไม่
รวมหรือไม่รวมนี่ ทำให้ค่าชดเชยต่างกันบานตะเกียง
คงนึกออกครับว่าใครอยากให้รวม ใครไม่อยากให้รวม
ฝ่ายนายจ้างสู้ครับว่า ค่าคอมฯ ใช้เพื่อจูงใจพนักงาน
ให้ทำยอดขายตามเป้าเท่านั้น เป็นแค่ค่าตอบแทนพิเศษ
ซึ่งจะได้มากหรือน้อยไม่แน่นอน จึงไม่ถือเป็นค่าจ้าง
ทีนี้คือ ศาลไม่เห็นด้วยกับนายจ้างสิครับ
ศาลเห็นว่า เมื่อกำหนดอัตราที่แน่นอน
มีหลักเกณฑ์การจ่ายชัดเจน การขาย
และการติดตามให้ลูกค้าจ่ายเงินก็เป็น
หน้าที่ของลูกจ้างนั่นเอง
ดังนั้น ค่าคอมฯ จึงเป็นค่าตอบแทนการทำงาน
จึงเป็นค่าจ้าง
..ต้องเอามารวมคำนวณค่าชดเชยด้วย
นายจ้างทั้งหลายพึงระวังไว้นะครับ
คิดให้ถูกด้วย ไม่งั้นจะโดนลูกจ้างฟ้องเอา
ฎีกาที่ 6533-6534/2556