• จำแนกโดยอาศัยความหนักเบาของโทษที่ศาลสามารถใช้ดุลพินิจกำหนดแก่ผู้กระทำความผิดได้ตามลักษณะและพฤติกรรมแห่งการกระทำความผิด
มีโทษรวม 9 ลักษณะ
1. ความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
· ตามมาตรา 37,38,39,42,47,48,49,50 เป็นเหตุให้ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
· นายจ้างไม่ดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานตามที่รัฐมนตรีกำหนด ( มาตรา 103 )
· นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันหยุดในงานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัย ( มาตรา 31)
· การกรอกข้อความอันเป็นเท็จในการรับรองตรวจสอบเอกสารตามมาตรา 103
2. ความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
· ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนี้
· ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน ตามมาตรา 124
3. ความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
· เรียกหรือรับเงินประกันไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ( มาตรา 10)
· งานเกษตรกรรม งานประมง งานรับไปทำที่บ้าน งานขนส่ง งานบรรทุกขนถ่ายสินค้าในเรือเดินทะเล ซึ่งมีกฎกระทรวงกำหนดไว้ ( มาตรา 22 )
· ใช้ให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาไม่ถูกต้อง ( มาตรา 24)
· ใช้ให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดไม่ถูกต้อง ( มาตรา 25)
· ใช้ให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาและในวันหยุดรวมแล้วเกินสัปดาห์ละ36ช.ม.(มาตรา26)
· ใช้ลูกจ้าง ยกแบก หาม ทูน ลาก เข็น ของหนักเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง ( มาตรา 39)
· ใช้ลูกจ้างหญิงทำงานต้องห้าม 4 ชนิด ( มาตรา 38)
· ใช้ลูกจ้างหญิงซึ่งตั้งครรภ์ทำงานในเวลาต้องห้ามและลักษะงานต้องห้าม 5ชนิด( มาตรา 39)
· ไม่เปลี่ยนเวลางานให้แก่ลูกจ้างหญิงตามที่อธิบดีสั่ง ( มาตรา 40)
· ไม่เปลี่ยนงานให้หญิงมีครรภ์ตามที่แพทย์รับรองว่าทำงานหน้าที่เดิมไม่ได้ ( มาตรา 42)
· เลิกจ้างเพราะเหตุหญิงมีครรภ์ (มาตรา 43)
· จัดเวลาพักให้แก่ลูกจ้างเด็กไม่ถูกต้อง ( มาตรา 46)
· ใช้ลูกจ้างเด็กทำงานทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุด( มาตรา 48)
· ใช้ลูกจ้างเด็กทำงานต้องห้าม 13 ชนิด ( มาตรา 49)
· ใช้ลูกจ้างเด็กทำงานในสถานที่ต้องห้าม 5 ชนิด ( มาตรา 50)
· จ่ายค่าจ้างของลูกจ้างเด็กแก่ผู้อื่น หรือ เรียกเงินประกันจากลูกจ้างเด็ก(มาตรา 51)
· จ่ายค่าล่วงเวลาไม่ถูกต้อง ( มาตรา 61)
· จ่ายค่าทำงานในวันหยุดไม่ถูกต้อง ( มาตรา 62)
· จ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดไม่ถูกต้อง ( มาตรา 63)
· ไม่จัดให้ลูกจ้างหยุดงานตามกฎหมายแล้วไม่จ่ายเงินตอบแทน (มาตรา 64)
· เลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่ได้กระทำความผิดโดยไม่จ่ายค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วน ( มาตรา 67)
· จ่ายค่าจ้างไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด ( มาตรา 70)
· ลูกจ้างเดินทางในวันหยุดเพื่อไปทำงานที่อื่น แต่ไม่จ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้ค่าจ้างในวันหยุดนั้น ( มาตรา 71,72)
· หักค่าจ้างลูกจ้างโดยผิดกฎหมาย ( มาตรา 76 )
· จ่ายค่าจ้างน้อยกว่าอัตราขั้นต่ำตามกฎหมาย ( มาตรา 90)
· ไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย ( มาตรา 118,120,121,122 )
· ไม่จัดทำเอกสารเกี่ยวกับความปลอดภัย ( มาตรา 154 )
4. ความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
· นายจ้างไม่ยื่นแบบรายการแสดงรายชื่อของลูกจ้างที่มีจำนวนตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปเพื่อเป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์ลุกจ้างตามมาตรา 130 ( มาตรา 156 )
5. ความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
· ไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนี้ ( มาตรา 150)
· ไม่จัดประชุมหารือ กับคณะกรรมการสวัสดิการตามาตรา 96 (มาตรา 152 )
6. คดีที่มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท
· สถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 50 คนขึ้นไป ไม่จัดให้มีคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ตามาตรา 96 ( มาตรา 152 )
7. ความผิดที่มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
· ปฏิบัติต่อลูกจ้างชายหญิงโดยไม่เท่าเทียมกัน ( มาตรา 15 )
· จัดเวลาพักไม่ถูกต้อง ( มาตรา 27 )
· จัดให้ลูกจ้างหยุดประจำสัปดาห์ หยุดตามประเพณี และหยุดพักผ่อนประจำปีไม่ถูกต้อง ( มาตรา 28,29,30)
· จ้างลูกจ้างเด็กแล้วไม่แจ้งพนักงานตรวจแรงงาน ( มาตรา 45)
· งานที่มีลักษณะและคุณภาพอย่างเดียวกันจ่ายค่าตอบแทนไม่เท่ากัน( มาตรา53)
· ไม่จ่ายค่าตอบแทนการทำงานเป็นเงินตราไทย ( มาตรา 54)
· ไม่จ่ายค่าจ้างในวันหยุด ( มาตรา 56 )
· ไม่จ่ายค่าจ้างในวันลาป่วย ลารับราชการทหาร ลาคลอดบุตร ( มาตรา 57,58,59)
· จ่ายค่าล่วงเวลา ค่าตอบแทน และค่าทำงานในวันหยุดไม่ถูกต้อง(มาตรา 65,66)
· ตกลงจ่ายค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุดสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดแล้วไม่จ่าย ( มาตรา 74)
· นายหยุดกิจการซึ่งไม่ใช้เหตุสุดวิสัยและไม่จ่ายเงินร้อยละ 50 ของค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ( มาตรา 75 )
· หักค่าจ้างโดยลูกจ้างไม่ยินยอม ( มาตรา 77 )
· ไม่ปิดประกาศการจัดสวัสดิการ ( มาตรา 99 )
· ไม่จ่ายเงินแก่ลูกจ้างขณะที่พนักงานตรวจแรงงานสั่งให้หยุดใช้เครื่องจักร( มาตรา 105 )
· ไม่จัดให้มีข้อบังคับการทำงาน เมื่อมีลูกจ้างครบ 10 คนขึ้นไป( มาตรา 108 )
· นายจ้างที่มีลูกจ้าง10 คนขึ้นไปไม่จัดทำทะเบียนลูกจ้างหรือทำไม่ถูกต้อง(มาตรา 112-3)
· นายจ้างที่มีลูกจ้าง10 คนขึ้นไปไม่จัดทำเอกสารเกี่ยวกับค่าตอบแทน(มาตรา 114)
· นายจ้างไม่เก็บทะเบียนลูกจ้างไว้ไม่น้อยกว่า 2 ปี ( มาตรา 115 )
· เมื่อสอบสวนแล้ว ลูกจ้างไม่ผิด ไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานพร้อมดอกเบี้ย(มาตรา 117)
· ไม่บอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 120,121
· ไม่ไปพบพนักงานตรวจแรงงาน หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่สั่งให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ( มาตรา 139(2)(3)
· นายจ้างล่วงเกินทางเพศ ( มาตรา 16 )
8. ความผิดที่มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
· นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างเด็กลาประชุม ( มาตรา 52 )
· นายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทน ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้าง( มาตรา 55)
· หยุดกิจการชั่วคราวตามมาตรา 75 แล้วไม่แจ้งให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้า ( มาตรา 75 วรรคสอง )
· นายจ้างไม่ประกาศอัตราขั้นต่ำให้ลูกจ้าง ( มาตรา 90 )
· แก้ไขข้อบังคับแล้วไม่ประกาศข้อบังคับภายใน 7 วัน(มาตรา 110)
· พักงานเพื่อการสอบสวนโดยไม่มีข้อบังคับให้ทำได้ และทำไม่ถูกต้อง ( มาตรา 116)
9. ความผิดที่มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
· นายจ้างไม่กำหนดเวลาการทำงานปกติให้ลูกจ้างทราบ