
ประวัติการศึกษา การทำงาน และผลงาน
ของ
นายวุฒิพงษ์ เวชยานนท์
การศึกษา
- ปริญญาโททางกฎหมาย จาก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา (พ.ศ.๒๕๓๙)
- เนติบัณฑิตไทย (สอบได้อันดับที่ ๑) สมัย ๓๖ ปี พ.ศ.๒๕๒๖
- นิติศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยม จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ.๒๕๒๕)
การทำงานในอดีต
- ผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ( พ.ศ.๒๕๔๐ - ๒๕๔๓)
- ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำกระทรวง (พ.ศ.๒๕๓๘ - ๒๕๓๙)
- รองเลขาธิการส่งเสริมงานตุลาการ กระทรวงยุติธรรม (พ.ศ.๒๕๓๖ - ๒๕๓๗)
- ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเพชรบูรณ์ (พ.ศ.๒๕๓๓ - ๒๕๓๕)
- ผู้พิพากษาประจำกระทรวง (พ.ศ.๒๕๓๑ - ๒๕๓๒)
- ผู้ช่วยผู้พิพากษา (สอบได้อันดับที่ ๑) (พ.ศ.๒๕๓๐ - ๒๕๓๒)
- หัวหน้าสาขากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (พ.ศ.๒๕๔๗ – ๒๕๕๐)
- ที่ปรึกษากฎหมายมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (พ.ศ. ๒๕๔๗ – ปัจจุบัน)
- ที่ปรึกษากฎหมายอาวุโสแห่งบริษัทติลลิกีแอนด์กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (พ.ศ. ๒๕๔๔ – ๒๕๕๐)
- ที่ปรึกษาส่วนกฎหมาย บริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) นางสาวภควดี จรรยาเพศ ผู้จัดการอาวุโส (พ.ศ. ๒๕๔๙ – ๒๕๕๐)
- ที่ปรึกษาบริษัทในเครือบริษัทอีซูซุสงวนไทย จำกัด (ได้แก่บริษัทอีซูซุสงวนไทย มอเตอร์เซลส์ จำกัด, บริษัทอีซูซุสงวนไทยเชียงราย จำกัด, บริษัทอีซูซุสงวนไทยกรุงเทพฯ จำกัด, บริษัทอีซูซุสงวนไทยสระบุรี จำกัด, นางสกุณา พิทักษ์สิทธิ์ กรรมการบริหาร) (พ.ศ. ๒๕๓๕ – ๒๕๕๐)
- ที่ปรึกษากลุ่มบริษัทอีซูซุสยามซิตี้ จำกัด รวม ๑๑ สาขา ทั่วประเทศ (นางสกุณา พิทักษ์สิทธิ์ กรรมการบริหาร) พ.ศ. ๒๕๔๓ – ๒๕๕๐
- ที่ปรึกษาบริษัทอีซูซุสยามคาร์เร้นท์ จำกัด (นางสกุณา พิทักษ์สิทธิ์ กรรมการบริหาร) พ.ศ. ๒๕๔๘ – ๒๕๕๐
- ที่ปรึกษาบริษัทอีซูซุ สยามออโต เซอร์วิส จำกัด (นางสกุณา พิทักษ์สิทธิ์ กรรมการบริหาร) พ.ศ. ๒๕๔๘ – ๒๕๕๐
- ที่ปรึกษาบริษัทในเครือบริษัทแอดวานซ์ อโกร จำกัด (มหาชน) (ผู้ติดต่อ : พลตำรวจโท สุวิระ ทรงเมตตา รองผู้บัญชาการศึกษา กองบัญชาการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) พ.ศ. ๒๕๔๗ – ๒๕๕๐
- ที่ปรึกษาเดอะ ลอร์ด กรุ๊ป สถานบันเทิงใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร (ลองบีช, โคปาคาบานา, วิคตอเรีย ซีเคร็ท, เดอะ ลอร์ด เอ็นเทอร์เทนเม็นท์) นายกำพล วิระเทพสุภรณ์ ประธานกลุ่มบริษัท (พ.ศ. ๒๕๕๐ – ๒๕๕๐)
- ที่ปรึกษากฎหมาย บริษัทสัตยพลแอนด์พาร์ทเนอร์ส (นายสัตยพล สัจจะเดชะ กรรมการผู้จัดการ) พ.ศ. ๒๕๔๖ – ๒๕๕๐
- ที่ปรึกษากฎหมาย บริษัทวัตสัน ฟาร์ลีย์ แอนด์วิลเลียม จำกัด (นายรัฐการ บุญเหนือ หุ้นส่วนบริหาร) พ.ศ. ๒๕๔๙ – ๒๕๕๐
- ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด มหาชน (๒๕๕๑-๒๕๕๕)
- ประธานกรรมการบริษัทกฎหมายสยามนิติ ในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ (๒๕๕๑-๒๕๕๕)
- กรรมการบริหารบริษัท ไทยพาณิชย์ พลัส จำกัด (บริษัทเร่งรัดหนี้สินในเครือธนาคารไทยพาณิชย์) (๒๕๕๒-๒๕๕๕)
- กรรมการตรวจสอบ ธนาคารกัมพูชาพาณิชย์ (Cambodian Commercial Bank : CCB) กรุงพนมเปญ, เสียมราฐ, พระตะบอง และสีหนุวิลล์ ประเทศกัมพูชา (๒๕๕๔-๒๕๕๕)
- ที่ปรึกษาคณะกรรมการธนาคาร และที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร ธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(๒๕๕๖)
- กรรมการบริหารความเสี่ยง ธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (๒๕๕๖)
สาขางานหลัก
- กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา (ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า การคุ้มครองพันธุ์พืช การคุ้มครองการออกแบบแผงวงจรรวม การคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และอื่นๆ)
- การค้าระหว่างประเทศ การขนส่งทางเรือ และทางอากาศระหว่างประเทศ ประกันภัยทางทะเล และกฎหมายทะเล
- การส่งเสริมการลงทุน
- การจัดตั้งห้างหุ้นส่วน บริษัท ดูแลจัดการการดำเงินงานให้เป็นไปตามกฎหมาย
- ภาษีอากร และการชำระเงินระหว่างประเทศ
- การควบคุมการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
- แรงงาน
- คนเข้าเมือง และการทำงานของคนต่างด้าว
- กฎหมายล้มละลาย การฟื้นฟูกิจการ และการปรับโครงสร้างหนี้
- การระงับข้อพิพาทโดยทางอนุญาโตตุลาการ และโดยวิธีอื่น
- กฎหมายการเงินการธนาคารและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
- จัดเตรียมและยกร่างเอกสารทางกฎหมายรวมทั้งสัญญาต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ รวมทั้งแปลเอกสารภาษาอังกฤษเป็นไทย ไทยเป็นอังกฤษ
ผลงานด้านธนาคารและการลดหนี้ NPl
- จัดตั้งและวางโครงสร้างกลุ่มงานกฎหมายให้แก่ธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการกับหนี้ NPL ทำให้ธนาคารสามารถลด NPL ของธนาคารในช่วงปี ๒๕๕๑-๒๕๕๒ ได้เป็นเงินจำนวน ๒๒,๙๖๓,๖๒๔,๓๓๕.๓๗ บาท และช่วยให้กลุ่มจัดการทรัพย์สินของธนาคารปรับโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ได้ ๕๙ ราย จำนวนทุนทรัพย์ ๑๘๕ ล้านบาท
ประสบการณ์ระหว่างประเทศ
- เป็นตัวแทนกระทรวงยุติธรรมไปร่วมประชุมคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (United Nation Conference on International Trade Law : UNCITRAL)เกี่ยวกับการร่างกฎหมายต้นแบบเรื่องการถ่ายทอดข้อมูลทางอีเลคทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange) ( ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นกฎหมายต้น แบบว่าด้วยธุรกรรมทางอีเลคทรอนิกส์ หรือ E-Commerce) ที่สำนักงานใหญ่องค์การ สหประชาชาติ นครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา ( มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙)
- เป็นประธานคณะทำงานอาเซียน เพื่อยกร่างข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการขนส่งหลายรูปแบบ ( พ.ศ. ๒๕๔๐)
- เป็นตัวแทนกระทรวงยุติธรรมร่วมกับตัวแทนกระทรวงการต่างประเทศร่วมเจรจาเพื่อลงนามในข้อตกลงสองฝ่ายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนระหว่างประเทศไทยกับสวิตเซอร์แลนด์และไทยกับแคนาดา (พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๔๐)
- เป็นผู้นำเสนอรายงานของประเทศไทย และเป็นวิทยากรในการประชุมผู้พิพากษาแห่งอาเซียน ที่ประเทศบรูไน (พ.ศ. ๒๕๔๑)
- ให้สัมภาษณ์ข้ามทวีปโดยหนังสือพิมพ์เซาท์ ไชนา มอร์นิ่ง โพสท์ เรื่องระบบกฎหมายอาญาของประเทศไทย (๒๘ สิงหาคม ๒๕๔๔)
- เป็นวิทยากรในการสัมมนาจัดโดยหอการค้านานาชาติและอุตสาหกรรมแห่งประเทศมาเลเซีย ในหัวข้อ “ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายอย่างมีประสิทธิภาพ ” ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ( ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๖)
- เป็นวิทยากรในการสัมมนา ASEMจัดโดยสหภาพยุโรปและประเทศสมาชิกอาเซียนเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป ในหัวข้อ The ASIAN Approach to TRIPs, Brand Protection and Development,HowBrands Generate Wealth for Companies and Economiesที่ประเทศสิงคโปร์ ( ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗)
- เป็นวิทยากรในการประชุมเกี่ยวกับเครื่องสำอางค์ 2006 จัดโดย Asia Business Forum ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ในหัวข้อ “การคุ้มครองลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้าในเครื่องสำอางค์และผลิตภัณฑ์บำรุงผิว”
- เป็นวิทยากรในการประชุมร่วมระหว่างหอการค้าเดนมาร์ค – ไทย, ไทย – สวีเดน, ไทย – ฟินแลนด์ และนอร์เวย์ – ไทย เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๐ เรื่อง “ระบบการบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทย”
- เป็นวิทยากรในการประชุม Asia Pacific Copyright Forum ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๐ เรื่อง “การคุ้มครองลิขสิทธิ์ในประเทศไทย”
- เป็นพยานผู้เชี่ยวชาญไปเบิกความในศาล the High Court of Justice Queen’s Bench Divisions Admiralty Court (London UK) ในคดีระหว่าง Dornoch Limited et al. V. Westminster International BV et al.(๑๘ พฤษภาคม ๒๐๐๙-๒๐ พฤษภาคม ๒๐๐๙)
- เป็นพยานผู้เชี่ยวชาญเบิกความในกระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการของ International Chamber of Commerce ในคดีระหว่าง United Palm Oil Industry PCL. ผู้เรียกร้อง กับ Petra Boilers SDN BHD ผู้คัดค้าน ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
งานด้านการยกร่างกฎหมาย
- เป็นผู้ยกร่างกฎหมายหลายฉบับที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงยุติธรรม ( พ.ศ.๒๕๓๖ - ๒๕๔๒)
- เป็นผู้ชี้แจงประกอบร่างกฎหมายในความรับผิดชอบของกระทรวงยุติธรรมต่อคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา (พ.ศ.๒๕๓๖ - ๒๕๔๐)
- เป็นคณะกรรมการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน (ตามคำสั่งของประธานสภาผู้แทนราษฎร) ๒๕๕๕ - ๒๕๕๖
- เป็นอนุกรรมการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านเศรษฐกิจเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ตามคำสั่งสภาผู้แทนราษฎร) ๒๕๕๖ - ปัจจุบัน
- เป็นอนุกรรมการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสังคมและวัฒนธรรมเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ตามคำสั่งสภาผู้แทนราษฎร) ๒๕๕๖ - ปัจจุบัน
- เป็นอนุกรรมการกำหนดกรอบการประเมินผลการดำเนินงานของสำนักงานรัฐสภาประจำจังหวัด ๖ จังหวัดนำร่องในคณะกรรมการศึกษาความเป็นไปได้และดำเนินการจัดตั้งรัฐสภาจังหวัด(๒๕๕๖)
งานให้ความร่วมมือกับทางราชการ
- เป็นที่ปรึกษาพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม (พ.ศ.๒๕๔๙ – ปัจจุบัน)
- เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต ภาษียาสูบ และภาษีสุรา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (คณะ ดร. สังศิทธิ์ พิริยะรังสรรค์) พฤศจิกายน – ธันวาคม ๒๕๕๐
- ได้รับการแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรี (พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์) เป็นคณะกรรมการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตและพื้นที่ต้นน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ ในโอกาสมหามงคลสมัยเนื่องในศุภวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติครบ ๖๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๑)
- เป็นที่ปรึกษากรมธนารักษ์ (๒๕๕๖ - ปัจจุบัน)
งานทางด้านวิชาการ
- เป็นอาจารย์ผู้บรรยายชั้นปริญญาตรีกฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายการลงทุน กฎหมาย การเงินการธนาคาร กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายอนุญาโตตุลาการ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยเซ็นต์จอห์น มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ระหว่างปีพ.ศ.๒๕๓๙ - ปัจจุบัน)
- เป็นอาจารย์ผู้บรรยายชั้นประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาการระงับข้อพิพาททางด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ อนุญาโตตุลาการ และกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง (พ.ศ.๒๕๓๙ - ปัจจุบัน)
- เป็นผู้บรรยายพิเศษชั้นปริญญาโททางบริหารธุรกิจที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ.๒๕๔๔ - ปัจจุบัน)
- เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และเป็นกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ชั้นปริญญาโทของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ธุรกิจบัณฑิต ธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- เป็นนักวิจัยแห่งชาติ
ผลงานเขียน
- คู่มือทนายความในการดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญา
- คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน
- คำอธิบายกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จัดพิมพ์โดยสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ กระทรวงยุติธรรม บทความในวารสารของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ฉบับปี พ.ศ. ๒๕๔๑, ๒๕๔๓, ๒๕๔๖ม นิตยสารบทบัณฑิตย์ ของเนติบัณฑิตยสภา และนิตยสารดุลพาหของกระทรวงยุติธรรม
- วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา รวมคำพิพากษาฎีกา สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
- งานวิจัยเรื่อง“การศึกษาระบบงานยุติธรรมและการปรับปรุงระบบงานยุติธรรมของประเทศในกลุ่มอาเซียน” โครงการร่วมระหว่างศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางกับสถาบันพัฒนาเศรษฐกิจ องค์กรการค้าต่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น(JETRO)
- งานวิจัยเรื่อง “แนวทางการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายพาณิชย์ที่มีโทษทางอาญา” ร่วมกับรองศาสตราจารย์ณัฐพงศ์ โปษกะบุตร และคณะ เสนอต่อสำนักงานศาลยุติธรรม
- ศาลจำลองเรื่อง “ข้าวหอมมะลิ” จัดโดยศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง (๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๔)
- การบรรยายในหัวข้อ “การนำเสนอพยานหลักฐานต่อศาล : หน้าที่นำสืบและวิธีพิจารณาในคดีทรัพย์สินทางปัญญา” ในการอบรมสัมนาพนักงานอัยการ จัดโดยพันธมิตรธุรกิจซอฟท์แวร์ กรุงเทพฯ วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๔
- การบรรยายหัวข้อ “สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในตลาดโลก” หลักสูตรผู้บริหารระดับล่าง มินิเอ็มบีเอ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๔๕
สมาชิกองค์กร
- สภาวิจัยแห่งชาติ
- สภาหอการค้านานาชาติ
- เนติบัณฑิตยสภา
- ฮาร์วาร์ดคลับ (ประเทศไทย)
- เนติบัณฑิตยสภาระหว่างประเทศ