คำกล่าวทักทาย (ภาษาประเทศสมาชิกอาเซียน)
คำกล่าวทักทาย (ภาษาอาเซียน)
|
บรูไน
|
ซาลามัต ดาตัง
|
อินโดนีเซีย
|
ซาลามัต เซียง
|
มาเลเซีย
|
ซาลามัต ดาตัง
|
ฟิลิปปินส์
|
กูมุสตา
|
สิงคโปร์
|
หนีห่าว
|
ไทย
|
สวัสดี
|
กัมพูชา
|
ซัวสเด
|
ลาว
|
สะบายดี
|
พม่า
|
มิงกาลาบา
|
เวียดนาม
|
ซินจ่าว
|
ประชาคมอาเซียน หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ
1. ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community หรือ APSC) ความมั่นคงและเสถียรภาพทางการเมืองเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาด้านอื่นๆ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนจึงเป็นเสาหลักความร่วมมือ 1 ใน 3 เสาหลัก ที่เน้นการรวมตัวของอาเซียนเพื่อสร้างความมั่นใจ เสถียรภาพ และสันติภาพ ในภูมิภาค เพื่อให้ประชาชนในอาเซียนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และปราศจากภัยคุกคามด้านการทหาร และภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ เช่น ปัญหายาเสพติด และปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ
2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC) ท่ามกลางบริบททางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศที่มีการแข่งขันสูง อันส่งผลให้ประเทศต่างๆ ต้องปรับตัวเองเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจโลก รวมถึงการรวมกลุ่มการค้ากันของประเทศต่างๆ อาทิ สหภาพยุโรป และเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community หรือ ASCC) มีเป้าหมายให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน โดยมีแผนปฏิบัติการด้านสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ระบุอยู่ในแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์
ซึ่งประกอบด้วย ความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่ การพัฒนามนุษย์ (Human Development) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building and ASEAN Identity) การลดช่องว่างทางการพัฒนา (Narrowing the Development Gap)
การรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีระหว่างกลุ่มประเทศ
ได้มีข้อตกลงที่จะให้เกิดการขับเคลื่อนระหว่างกันใน 5 ภาค ได้แก่ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานฝีมือ การเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานจะเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบในปี พ.ศ. 2558 หรือในอีก 3 ปีข้างหน้าเป็นการเคลื่อนย้ายแรงงานในระดับนักวิชาชีพหรือแรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษ โดยกลุ่มสมาชิกอาเซียนได้จัดทําข้อตกลงยอมรับร่วมกันในเรื่องคุณสมบัติหรือมาตรฐานในแต่ละวิชาชีพ หรือ Mutual Recognition Arrangements : MRAs เพื่ออํานวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพหรือแรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษของอาเซียนได้อย่างเสรี
ปัจจุบันมีข้อตกลงยอมรับร่วมในคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียน (MRAs) ทั้งหมด 7สาขา คือ
1. แพทย์ (Medical Practitioners)
2. ทันตแพทย์ (Dental Practitioners)
3. พยาบาล (Nursing Services)
4. สถาปัตยกรรม (Architectural Services)
5. การสํารวจ (Surveying Qualifications)
6. นักบัญชี (Accountancy Services)
7. วิศวกรรม (Engineering Services)
ส่วนสาขาอื่นๆ ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งนักวิชาชีพดังกล่าวหากมีความสามารถและมีคุณสมบัติผ่านตามเงื่อนไขที่แต่ละประเทศกําหนดก็จะสามารถไปทํางานในกลุ่มสมาชิกอาเซียนได้อย่างเสรี โดยได้รับการปฏิบัติต่อเยี่ยงชนชาตินั้นๆเพื่อให้เห็นภาพในข้อตกลงยอมรับร่วมกันหรือ Mutual Recognition Arrangements: MRAs สรุปสาระสําคัญของข้อตกลงในแต่ละสาขาดังนี้
(1.) MRA สาขาวิชาชีพแพทย์ (Medical Practitioners) มีหลักการคือ เปิดให้แพทย์ที่มีคุณสมบัติตามที่กําหนดสามารถจดทะเบียนหรือขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแพทย์ในประเทศอาเซียนอื่นได้โดยต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในของประเทศนั้นๆด้วย ซึ่งแพทย์ต่างชาติที่ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในประเทศอื่นต้องผ่านการประเมินและอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลในประเทศที่รับให้ทํางาน (ของประเทศไทย คือ แพทย์สภาและกระทรวงสาธารณสุข) การดําเนินงานในเรื่องนี้ของอาเซียนจะอยู่ภายใต้การดูแลของ ASEAN Joint Coordinating Committee on Medical Practitionersซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานกํากับดูแลของประเทศสมาชิก
(2.) MRA สาขาวิชาชีพทันตแพทย์ (Dental Practitioners) มีหลักการคือเปิดให้ทันตแพทย์ที่มีคุณสมบัติตามที่กําหนดสามารถจดทะเบียนหรือขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตแพทย์ในประเทศอาเซียนอื่นได้โดยต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในของประเทศนั้นๆด้วยซึ่งทันตแพทย์ต่างชาติที่ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในประเทศอื่นต้องผ่านการประเมินและอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลในประเทศ ที่รับให้ทํางาน(ของประเทศไทยคือทันตแพทย์สภาและกระทรวงสาธารณสุข) การดําเนินงานในเรื่องนี้ของอาเซียนจะอยู่ภายใต้การดูแลของ ASEAN Joint Coordinating Committee on Dental Practitioners ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานกํากับดูแลของประเทศสมาชิก
(3.) MRA สาขาวิชาชีพการพยาบาล (Nursing Services) มีหลักการคือ เปิดให้พยาบาลที่มีคุณสมบัติตามที่กําหนดสามารถจดทะเบียนหรือขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลในประเทศอาเซียนอื่นได้โดยต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในของประเทศนั้นๆด้วย โดยพยาบาลต่างชาติที่ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในประเทศอื่นต้องผ่านการประเมินและอยู่ภายใต้ การดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลในประเทศที่รับให้ทํางาน (ของประเทศไทย คือ สภาการพยาบาล)
(4.) MRA สาขาสถาปัตยกรรม (Architectural Services) มีหลักการคือ เปิดให้สถาปนิกที่มีคุณสมบัติตามที่กําหนดสามารถจดทะเบียนเป็นสถาปนิกอาเซียน (ASEAN Architect) ซึ่งจะช่วยอํานวยความสะดวกในการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมในประเทศอาเซียนอื่นได้โดยต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในของประเทศนั้นๆ ซึ่งบางประเทศรวมทั้งไทยกําหนดให้สถาปนิกอาเซียนต้องปฏิบัติงานร่วมกับสถาปนิกท้องถิ่น สถาปนิกที่ต้องการจดทะเบียนดังกล่าวต้องผ่านการประเมินจากคณะกรรมการกํากับดูแล(Monitoring Committee) ในแต่ละประเทศ ซึ่งในส่วนของประเทศไทยจะดําเนินการโดยสภาสถาปนิก การดําเนินงานในเรื่องนี้ของอาเซียนจะอยู่ภายใต้การดูแลของสภาสถาปนิกอาเซียน (ASEAN Architect Council) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจาก Monitoring Committee ของประเทศสมาชิก
(5.) MRA ในคุณสมบัติด้านการสํารวจ (Surveying Qualifications) มีหลักการคือ กําหนดแนวทางเพื่อใช้เป็นพื้นฐานโดยวางหลักเกณฑ์พื้นฐานประกอบด้วยหลักเกณฑ์เรื่องการศึกษา การสอบ ประสบการณ์ กระบวนการให้การยอมรับระบบข้อมูลเอกสาร ระเบียบวินัยและหลักจริยธรรม มาตรฐานและแนวปฏิบัติสากลในส่วนของประเทศไทยองค์กรที่มีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบกํากับดูแล การประกอบการบริการด้านสํารวจและขึ้นทะเบียน ออกใบอนุญาตนักสํารวจ คือสภาวิศวกร
(6.) MRA สาขาบัญชี (Accountancy Services) มีหลักการคือ เปิดให้นักบัญชีที่มีคุณสมบัติตามที่กําหนดสามารถจดทะเบียนหรือขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพนักบัญชีในประเทศอาเซียนอื่นได้โดยต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในของประเทศนั้นๆด้วย โดยข้อตกลงยอมรับร่วมกันแนะนําให้ประเทศสมาชิกอาเซียนควรที่จะนําเอามาตรฐานและแนวทางของสภาวิชาชีพบัญชีนานาชาติ(IFAC) มาใช้ในการกําหนดความสามารถด้านวิชาชีพและคุณสมบัติต่างๆ สําหรับการประกอบวิชาชีพบัญชีของประเทศสมาชิกอาเซียนภายใต้กฎระเบียบภายในของประเทศสมาชิกนั้นๆ(ของประเทศไทยคือ สภาวิชาชีพบัญชี)
(7.) MRA สาขาวิศวกรรม (Engineering Services) มีหลักการคือ เปิดให้วิศวกรที่มีคุณสมบัติตามที่กําหนดสามารถจดทะเบียนเป็นวิศวกรวิชาชีพอาเซียน (ASEAN Chartered Professional Engineer) ซึ่งจะช่วยอํานวยความสะดวกในการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมในประเทศอาเซียนอื่นได้ โดยต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในของประเทศนั้นๆ ซึ่งบางประเทศรวมทั้งไทยกําหนดให้วิศวกรอาเซียนต้องปฏิบัติงานร่วมกับวิศวกรท้องถิ่นโดยวิศวกรที่ต้องการจดทะเบียนดังกล่าวต้องผ่านการประเมินจากคณะกรรมการกํากับดูแล (Monitoring Committee) ในแต่ละประเทศซึ่งในส่วนของประเทศไทยจะดําเนินการโดยสภาวิศวกรสําหรับการดําเนินงานในเรื่องนี้ของอาเซียนจะอยู่ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการประสานงานด้านวิศวกรวิชาชีพอาเซียน(ASEAN Chartered Professional Engineer Coordinating Committee ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจาก Monitoring Committee ของประเทศสมาชิก
สําหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สภาวิศวกรในฐานะผู้มีอํานาจกํากับดูแลวิชาชีพวิศวกรรมได้พิจารณาข้อตกลงยอมรับร่วมกัน(Mutual Recognition Arrangements: MRAs) เพื่ออํานวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายวิศวกรอาเซียน (ASEAN Engineer) โดยคํานึงถึงตัวแปรหลัก 3 ด้าน คือ
1. การศึกษา (Education)
2. การประกอบวิชาชีพ (Profession)
3. กฎระเบียบในประเทศนั้นๆ (Regulations) หรืออาจอธิบายสั้นๆ ได้ว่าคุณสมบัติของวิศวกรกับกฎระเบียบของประเทศผู้รับวิศวกรนั้นทํางานซึ่งข้อตกลงยอมรับร่วมกันอาเซียนด้านวิศวกรรมนี้มีการกําหนดคุณสมบัติของวิศวกร ACPE=ASEAN Chartered Professional Engineer) ไว้คร่าวๆ ก่อนประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ดังนี้
1. จบการศึกษาจากหลักสูตรที่มีการรับรอง
2. เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือระดับสามัญขึ้นไปที่สําเร็จการศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า 7 ปี
3. มีประสบการณ์การทํางานที่รับผิดชอบงานวิศวกรรมเต็มเวลา อย่างน้อย 2 ปี
4. มีการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องในระดับที่น่าพอใจ
ทั้งนี้ นอกเหนือจากข้อกําหนดทางด้านคุณสมบัติของวิศวกรแล้ว ปัจจัยที่ส่งผลต่อโอกาสของวิศวกรไทย คือ ภาษาอังกฤษ ความรู้ทั่วไปประสบการณ์ นโยบายภาครัฐ วัฒนธรรมประเพณีความรู้พื้นฐาน และภาษาถิ่น
ดังนั้น จึงมีความจําเป็นสําหรับคนไทยในทุกสาขาอาชีพที่ต้องการได้รับใบอนุญาต ASEAN เพื่อจะได้มีโอกาสในการทํางานในกลุ่มของประเทศสมาชิกจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อพิพาท แล้วยังต้องมีการพัฒนาขีดความรู้ความสามารถ (Competency) ในการทํางานด้านอื่นๆ เพื่อให้สามารถทํางานร่วมกับชาวต่างชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ