เรื่อง
|
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
|
ค่าชดเชย
|
เลิกจ้าไม่เป็นธรรม
|
1.หลักกฎหมาย
|
องค์ประกอบ ๓ ข้อ
๑.สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา
๒.ต้องมีการเลิกจ้าง
๓.โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าหรือ
บอกกล่าวล่วงหน้าไม่ถูกต้อง
(ป.พ.พ. มาตรา ๕๘๒ และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา ๑๗ วรรค ๒ )
|
องค์ประกอบ ๒ ข้อ
๑.ทำงานครบ ๑๒๐ วัน
๒.ต้องมีการเลิกจ้าง
๒.๑ เลิกจ้างโดยชัดแจ้งเป็นหนังสือหรือด้วยวาจา
๒.๒ เลิกจ้างโดยปริยาย
ก.นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานและไม่จ่ายค่าจ้างให้ไม่ว่าด้วยเหตุสัญญาสิ้นสุดหรือเหตุอื่นใด
ข.ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้
(พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯมาตรา ๑๑๘ )
|
องค์ประกอบ ๒ ข้อ
๑.ต้องมีการเลิกจ้าง
๒.โดยไม่มีสาเหตุหรือมีสาเหตุแต่ไม่เพียงพอ
(มาตรา ๔๙ แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ)
|
2.ข้อยกเว้น
|
ป.พ.พ. มาตรา ๕๘๓ ยกเว้น ๔ ข้อคือ
๑.ขัดคำสั่งนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายหรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเป็นอาจิณ
๒.กระทำความผิดอย่างร้ายแรง
๓.ละทิ้งการงาน
๔.กระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต
|
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯมาตรา ๑๑๙ ยกเว้น ๖ ข้อ
๑.ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม นายจ้างได้เตือนแล้ว
เว้นแต่กรณีร้ายแรง(๔)
๒.ทุจริตต่อหน้าที่หรือผิดอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้าง(๑)
๓.ละทิ้งหน้าที่๓วันติดต่อกัน(๕)
๔.จงใจทำให้นายจ้างเสียหาย(๒)
๕.ประมาทเลินเล่อจนนายจ้างเสียหายร้ายแรง(๓)
๖.ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก(๖)
|
ไม่มีกฎหมายบัญญัติข้อยกเว้นไว้โดยเฉพาะ ต้องใช้แนววินิจฉัยศาลฎีกา
๑.เหตุจากฝ่ายนายจ้างเช่นขาดทุนจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้
๒.เหตุจากฝ่ายลูกจ้าง
๒.๑ลูกจ้างกระทำความผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา๕๘๓ หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯมาตรา ๑๑๙
๓.ความบกพร่องของลูกจ้างเช่นเจ็บป่วยหย่อนสมรรถภาพ
๔.ลูกจ้างมีพฤติกรรมไม่น่าเชื่อถือหรือไม่น่าไว้วางใจ
|
๓.สัญญาครบกำหนดระยะเวลา
|
สัญญาสิ้นสุดโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า(ป.พ.พ. มาตรา๕๘๒, พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา๑๗วรรคหนึ่ง)
|
เป็นการเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเว้นแต่เป็นสัญญาจ้างพิเศษ ๓ ประเภท ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย(พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯมาตรา๑๑๘ วรรค๒,๓,๔)
|
เลิกจ้างเพราะมีสาเหตุที่เพียงพอเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม(ฎีกาที่๗๓๕๐/๒๕๔๓, ที่๑๒๕๐/๒๕๒๙)
|
๔.เกษียณอายุ
|
ไม่ใช่สัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลาแน่นอนจึงต้องบอกกล่าวล่วงหน้า(ฎีกาที่๖๔๕/๒๕๒๕)
|
ถือเป็นการเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๗๗/๒๕๓๖,ที่๑๖๑๗/๒๕๔๗,ที่ ๔๗๓๒/๒๕๔๘)
|
เลิกจ้างโดยมีสาเหตุเพียงพอเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม(ฎีกาที่ ๒๕๘/๒๕๔๕,ที่๓๔๗๑/๒๕๔๕)
|
๕.ลูกจ้างทดลองงาน
|
เลิกจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้า(สัญญาจ้างทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาตามมาตรา ๑๗ วรรคสอง ฎีกาที่๒๓๖๔/๒๕๔๕,ที่๕๒๔๙/๒๕๔๕,ที่๘๘๐๐/๒๕๔๗)
|
เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย(ฎีกาที่ ๘๘๐๐/๒๕๔๗)
|
เลิกจ้างเป็นธรรม(ฎีกาที่๔๒๑๖/๒๕๒๘,ที่๑๒๗๙/๒๕๒๙,ที่๓๙๖๕/๒๕๒๙,ที่๒๓๖๔/๒๕๔๕)
|
๖.การระบุข้อเท็จจริงหรือเลิกจ้างไว้ในหนังสือเลิกจ้าง(ม.๑๑๙วรรคท้าย)
|
ไม่ต้องระบุ ก็ยกขึ้นอ้างในภายหลังได้ (ฎีกาที่ ๗๙๒๒/๒๕๔๗)
|
ต้องระบุ มิฉะนั้นยกขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ ม.๑๑๙วรรคท้าย(ฎีกาที่ ๗๙๒๒/๒๕๔๗)
|
ไม่ต้องระบุ ก็ยกขึ้นอ้างในภายหลังได้(ฎีกาที่ ๗๙๒๒/๒๕๔๗)
|
๗.นายจ้างขาดทุนจนต้องเลิกจ้างลูกจ้างเพื่อให้กิจการดำเนินต่อไปได้
|
เลิกจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเพราะไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ.มาตรา ๕๘๓
|
เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเพราะไม่เข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯมาตรา๑๑๙
|
เลิกจ้างโดยมีสาเหตุเพียงพอเลิกจ้างเป็นธรรม(คำพิพากษาฎีกาที่๓๘๘๙/๒๕๒๗)
|
๘.ลูกจ้างเจ็บป่วยเป็นเวลานาน
หย่อนสมรรถภาพ
|
เลิกจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเพราะไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ.มาตรา๕๘๓
|
เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยไม่เข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯมาตรา๑๑๙(ฎีกาที่๓๓๘๑/๒๕๒๘)
|
เลิกจ้างโดยมีสาเหตุเพียงพอ เลิกจ้างเป็นธรรม(ฎีกาที่๒๖๐๐/๒๕๒๙,ที่๒๖๓๘/๒๕๒๘,ที่๗๒๔๒๕๔๙)
|
๙.ลูกจ้างขาดความรับผิดชอบละเลยต่อหน้าที่
|
เลิกจ้างไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า(ฎีกาที่ ๑๒๕๔/๒๕๔๖)
|
เลิกจ้างไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯมาตรา๑๑๙(ฎีกาที่๑๒๕๔/๒๕๔๖)
|
เลิกจ้างโดยไม่มีสาเหตุเพียงพอเลิกจ้างเป็นธรรม(ฎีกาที่๓๖๔๓/๒๕๔๗,ที่๒๕๗๖/๒๕๒๙,และที่๒๐๓/๒๕๒๘)
|
๑๐.ขัดคำสั่งที่ไม่ร้ายแรง
|
ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า(ฎีกาที่๑๕๑๒/๒๕๓๑)
|
เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเว้นแต่ทำผิดซ้ำคำเตือน(มาตรา๑๑๙ (๔)
|
เลิกจ้างโดยมีสาเหตุเพียงพอเลิกจ้างเป็นธรรม(ฎีกาที่๓๕๑/๒๕๓๑)
|