
อาจารย์วิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์
. ประวัติการศึกษา
คุณวุฒิ ปีที่จบ สถานศึกษา
2.1 มัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2538 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยงักกุเง
กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
2.2 นิติศาสตรบัณฑิต LL.B. พ.ศ. 2541 มหาวิทยาลัยโกเบ ประเทศญี่ปุ่น
2.3 นิติศาสตรมหาบัณฑิต LL.M. พ.ศ. 2543 มหาวิทยาลัยโกเบ ประเทศญี่ปุ่น
3. ประวัติการทำงาน
3.1 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์โท คณะนิติศาสตร์เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2543
สังกัดภาควิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์
3.2 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอาจารย์ ระดับ A-5 สังกัดภาควิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คณะนิติศาสตร์ โดยได้รับตำแหน่งเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2549
3.3 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาตรมหาบัณฑิต.
3.4 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง รุ่นที่ 8
4. ผลงาน
4.1 ด้านบริหาร
4.1.1 กรรมการประเมินการนำเสนอรายงาน ราบวิชาเอกัตศึกษาทางกฎหมายเศรษฐกิจ หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายเศรษฐกิจ ประจำปีการศึกษา 2549
4.1.2 กรรมการดำเนินงานจัดอบรมหลักสูตร “ผู้กำกับดูแลการปฏิบัติงานด้านธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ (Compliance Officer)” ระหว่างวันที่ 6-28 มิถุนายน 2550 ณ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4.1.3 กรรมการกิจการนิสิตคณะนิติศาสตร์ – ปัจจุบัน
4.1.4 อดีตรองผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
4.1.5 อดีตกรรมการการเลือกตั้งกรรมการประจำคณะนิติศาสตร์
4.1.6 กรรมการดำเนินการพิจารณาทุนอุดหนุนการศึกษาให้แก่นิสิต ระดับปริญญานิติศาสตมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ – ปัจจุบัน
4.1.7 กรรมการดำเนินงานจัดการประชุม The ALIN Conference ระหว่างวันที่ 6 -7 ธันวาคม 2550 ณ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4.1.8 กรรมการผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการออกข้อสอบและการคัดเลือกข้อสอบ เข้าศึกษาในคณะนิติศาสตร์ หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายเศรษฐกิจ – ปัจจุบัน.
4.1.9 กรรมการผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการออกข้อสอบและการคัดเลือกข้อสอบ เข้าศึกษาในคณะ
นิติศาสตร์ หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต – ปัจจุบัน.
4.1.10 อดีตผู้ช่วยคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพ
4.1.11 อดีตเลขานุการคณะกรรมการบริหารคณะนิติศาสตร์
4.1.12 อดีตรองผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (ภาคนอกเวลาราชการ).
4.1.13 คณะกรรมการบริหารหลักสูตรคณะนิติศาสตร์ – ปัจจุบัน.
4.2 ด้านวิชาการ
4.2.1 วิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์. 2543. เอกสารประกอบการสอนวิชากฎหมายป้องกันการผูกขาดทางการค้า ชุดที่ 1 จัดพิมพ์โดยคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
4.2.2 วิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์. 2543. เอกสารประกอบการสอนวิชากฎหมายป้องกันการผูกขาดทางการค้า ชุดที่ 2 จัดพิมพ์โดยคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
4.2.3 วิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์. 2546. “อำนาจเหนือตลาด” ในวารสารกฎหมายคณะ
นิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 22 ฉบับที่ 1.
4.2.4 วิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์. 2550. เอกสารประกอบการสอนวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย จัดพิมพ์โดยคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
4.2.5 วิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์. 2550. เอกสารประกอบการสอนวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายญี่ปุ่น จัดพิมพ์โดยคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
4.2.6 วิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์. 2550. เอกสารประกอบการสอนวิชาการวิเคราะห์กฎหมายเชิงเศรษฐศาสตร์ จัดพิมพ์โดยคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
4.2.7 วิทยากรการจัดสัมมนา “โครงการรอบรู้การแข่งขันสร้างสรรค์ความเป็นธรรม” ในหัวข้อเรื่อง “เกณฑ์ผู้มีอำนาจเหนือตลาดและกรณีตัวอย่างการใช้อำนาจเหนือตลาดที่ไม่เป็นธรรม” โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย วันที่ 11 พฤษภาคม 2550 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพ ฯ.
4.2.8 วิทยากรการอบรม “กฎหมายป้องกันการผูกขาดของญี่ปุ่น การบังคับใช้ และกรณีศึกษา” โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ วันที่ 29 สิงหาคม 2550 ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกต
กรุงเทพ ฯ.
4.2.9 วิทยากรการจัดสัมมนา “โครงการสร้างเครือข่ายวิชาการด้านการแข่งขันทางการค้า” โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ วันที่ 31 สิงหาคม 2550 ณ โรงแรมอิมพิเรียล แม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่.
4.2.10 วิทยากรการจัดสัมมนา “โครงการสร้างเครือข่ายวิชาการด้านพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542” โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2551 ณ โรงแรมโนโวเทล เซ็นทารา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.
4.2.11 วิทยากรให้ความรู้ด้านกฎหมายการแข่งขันทางการค้าในรายการวิทยุ “นิติมิติ” สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
4.2.12 วิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์. 2550. “หลักและแนวความคิดเกี่ยวกับ “วิธีการทางการค้าอย่างไม่เป็นธรรม” ตามกฎหมายป้องกันการผูกขาดทางการค้าของประเทศญี่ปุ่น” ในวารสารกฎหมายคณะ
นิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 26 ฉบับที่ 3.
4.2.13 วิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์. อรพรรณ พนัสพัฒนา. กัญจน์ศักดิ์ เพชรานนท์. 2551. “กฎหมายเพื่อส่งเสริมตลาดกลางสินค้าเกษตร” ในวารสารกฎหมายคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่
27 ฉบับที่ 1.
4.2.14 วิทยากรการจัดสัมมนา “โครงการสร้างเครือข่ายวิชาการด้านพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542” โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ วันที่ 28 สิงหาคม 2552 ณ
โรงแรมเครสสิเดนท์ จังหวัดพิษณุโลก.
4.3 ด้านวิจัย
งานวิจัยที่ทำสำเร็จแล้ว
4.3.1 ผู้วิจัย “โครงการจัดทำรูปแบบ (Model) ตลาดกลางภาครัฐ” แหล่งเงินทุนวิจัยจากกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ – ปัจจุบัน.
4.3.2 หัวหน้าโครงการวิจัย “โครงการจัดระเบียบการค้าภายในของไทยเพื่อปรับตัวรับผลการเจรจาเปิด
เสรีทางการค้า” แหล่งเงินทุนวิจัยจากกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ – ปัจจุบัน.
4.3.3 ผู้วิจัย “โครงการศึกษาแนวทางพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคมในการคุ้มครองสิทธิ
ประชาชนให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล” แหล่งเงินทุนวิจัยจากกระทรวงพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์ - ปัจจุบัน.
4.3.4 ผู้วิจัย “โครงการศึกษาแนวทางการใช้ใบรับของคลังสินค้าในตลาดจริงและนำมาประยุกต์ใช้ใน
กระบวนการส่งมอบรับมอบในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า” แหล่งเงินทุนวิจัยจากสำนักงาน
คณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (สำนักงาน ก.ส.ล.) – ปัจจุบัน.
4.3.5 ผู้วิจัย “โครงการศึกษาการขนส่งด้วยรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้างในเขตกรุงเทพ ฯ ที่เหมาะสมใน
สถานการณ์ปัจจุบัน” แหล่งเงินทุนวิจัยจากกรมขนส่งทางบก – ปัจจุบัน.
งานวิจัยที่กำลังทำ
4.3.2 ผู้วิจัย “โครงการศึกษากำหนดตลาดที่เกี่ยวข้องในกิจการโทรคมนาคม การประเมินสภาพการแข่งขันตลาดที่เกี่ยวข้องและการวิเคราะห์พฤติกรรมที่เป็นการลดหรือจำกัดหรือกีดกันการแข่งขัน” แหล่งเงินทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ – ปัจจุบัน.
4.3.3 ผู้วิจัย “โครงการศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบทางสังคม (SIA) สำหรับโครงการสถาบันวิจัยภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” – ปัจจุบัน.
4.3.4 ผู้วิจัย “โครงการศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) สำหรับสายส่งไฟฟ้าแรงสูงจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนน้ำเงียบ 1 ไปยังสถานีไฟฟ้าแรงสูงนาบอง” – ปัจจุบัน.
4.3.5 ผู้วิจัย “โครงการศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนน้ำเงียบ 1 ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” – ปัจจุบัน.
4.3.6 ผู้วิจัย “โครงการศึกษาเปรียบเทียบระบบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนตามกฎหมายการแข่งขันทางการค้า” แหล่งเงินทุนวิจัยจากกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ – ปัจจุบัน.